ถอดรหัสชีวิตด้วยเข็มทิศจีน 綜合盤(จงฮะปั๊ว)


สุดยอดศาสตร์วิชาการถอดรหัสกระแสพลัง ฟ้า-คน-ดิน ที่ถูกปกปิดซ่อนเล้นไว้ในอดีต แต่ได้ถูกบรรจุรวมเป็นหนึ่งเดียวในจานเข็มทิศจีน 綜合盤(จงฮะปั๊ว) ซึ่งเป็นเคล็ดวิชาชั้นสูงที่ผู้ศึกษาศาสตร์วิชาฮวงจุ้ยไขว่คว้าเสาะแสวงหาในปัจจุบัน
 
ศาสตร์วิชา 風水(ฮวงจุ้ย) นอกเหนือจากจะเป็นศาสตร์แห่งวิชาความรู้ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกระแสพลังปราณ 氣 (ขี่) กับสภาพแวดล้อมของชัยภูมิ โดยใช้เข็มทิศ 罗庚 (หล่อแก) เป็นเครื่องมือหลักในการตรวจหาความสัมพันธ์ดังกล่าวแล้ว 罗庚 (หล่อแก) ยังเป็นศูนย์รวมความรู้ทุกสิ่งทุกอย่างทางศาสตร์ฮวงจุ้ยไว้ ทั้งกระแสพลัง ฟ้า-ดิน-คน โดยแบ่งเป็นชั้นจานต่างๆได้ดังนี้คือ
 
1. 地盤正釙(ตี่ปั๊วเจี๊ยจำ) ใช้สำหรับวัดทิศทางมังกร 格龍(แก๊ะเล้ง) และตั้งทิศทางประธาน 山(ซัว) หรือที่เรียกว่า 立穴 (หลิบฮวก)  และกำหนดทิศทางด้านหน้า 定向(เตี่ยเหี่ยง)
 
2. 天盤縫針(เทียงปั๊วห่งจำ) ใช้สำหรับดูทิศทางน้ำ 納水(หนับจุ้ย)
 
3. 人盤中針(หนั่งปั๊วตงจำ) ใช้สำหรับดูภูเขา 橃砂(พั๊วซา)
 
ทั้ง 3 ชั้นจานเข็มทิศที่รวมเรียกกันว่า 三盤(ซาปั๊ว) ส่วนใหญ่สำนัก 三合四局(ซาหะซี้เก็ก) และสำนัก 纳甲九星(นับกะกิ๋วแช) มักนิยมใช้กัน
 
4. 三元盤(ซำง้วนปั๊ว) หรือ 卦盤(ข๊วยปั๊ว) สำนัก 三元(ซำง้วน) จะใช้ชั้นจานนี้ 
 
แต่ละชั้นจานจะเก็บซ้อนกระแสพลังแห่ง ฟ้า-ดิน-คน รวมไว้เป็นหนึ่งเดียวกันใน 罗庚 (หล่อแก) หรือที่เรียกว่า  綜合盤(จงฮะปั๊ว) เสมือนเป็นเข็มทิศที่รวบรวมวิชาความรู้ทางศาสตร์ฮวงจุ้ยไว้ทั้งหมด ดังนั้นผู้ศึกษาศาสตร์วิชาฮวงจุ้ยจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงความลับแห่ง ฟ้า-ดิน-คนใน 罗庚(หล่อแก) ให้ได้อย่างถ่องแท้ครบทุกๆชั้นจานจนแตกฉาน
 
เช่นการใช้ 三盤 (ซาปั๊ว) ช่วยในการคำนวนกำหนดตำแหน่งทิศทางพลังมังกร 格龍(แก๊ะเล้ง) ตั้งทิศทางประธาน 山(ซัว) ทั้งกำหนดทิศทางด้านหน้า 定向(เตี่ยเหี่ยง) และยังผสมผสาน 卦盤 (ข๊วยปั๊ว) เพื่อกำหนดตำแหน่งทิศทางต่างๆตามหลักคัมภีร์วิชา 64 ทิศ 六十四卦(หลักจับซี๊ข่วย) ที่แพร่หลายในปัจจุบัน โดยใช้หลักกฏเกณฑ์ทางศาสตร์วิชาการให้สอดรับระหว่างเจ้าชะตาและชัยภูมิเข้าด้วยกัน
 
ดังเช่น สุสานแห่งหนึ่งอิงทิศ 丙山壬向(เปียซัวหยิ่มเหี่ยง) ใช้ 三盤 (ซาปั๊ว) คำนวนวัดทิศทางสอดรับกับชัยภูมิตรงตามหลักศาสตร์วิชาทางน้ำของสำนัก 三合四局(ซาหะซี้เก็ก) ซึ่งกระแสพลังปราณ 氣 (ขี่) จะต้องไหลจากซ้ายไปขวา ทั้งมีดาวคู่ผสมเป็นดาวมงคล 左輔 (จอหู) ในหลักวิชาดาวเหิน 玄空飞星(เหี่ยงคงปวยแช) มาประจำอยู่ด้านหน้าทิศเหนือพอดี
 
แต่ทิศองศาธาตุผสม 纳陰(หนับอิม) ของ 四十八珠寶綫(ซี๊จับโป่ยจูปอสั่ว) ในชั้นจาน 地盤(ตี่ปั๊ว) กลับไปพิฆาต 尅仙命(คักเสี่ยงเหมี่ย) ธาตุผสม 纳陰(หนับอิม) ของเจ้าชะตา ซึ่งตรงกับเกณฑ์ที่เรียกว่า 刺穴煞(ชึงหวกสั่วะ) พอดี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องบิดเอียงป้ายสุสาน 石碑(เจียะปี) โดยให้องศาธาตุผสม 纳陰(หนับอิม) ของ  珠寶綫(จูปอสั่ว) ในชั้นจาน 天盤(เทียงปั๊ว) สัมพันธ์กันกับธาตุผสม 纳陰(หนับอิม) ของเจ้าชะตาแทน ซึ่งเรียกหลักวิชานี้ว่า  天地二盤互用(ทีตี่หน่อปั๊วหู่เอ่ง) จึงจะปรับแก้ไขกฏเกณฑ์ที่กล่าวเบื้องต้นได้
 
พร้อมทั้งนำศาสตร์วิชา 64 ทิศ 六十四卦(หลักจับสี่ข่วย) ที่แพร่หลายและนิยมในปัจจุบัน เข้าร่วมผสมผสานการวิเคราะห์ในครั้งนี้ ด้วยการ 動爻(ต่งง๊าว) เส้นขีดที่ 1 刀爻 (ชอง๊าว) แล้ว 変爻(เปี๊ยงง๊าว) จาก 火天大有(ฮวยเทียงตั่วอู๋) เป็น 火風鼎(ห้วยฮวงเตี้ย) โดยได้ผลรวมของเลขมงคล 卦連(ค๊วยอุ่ง) กับ 卦氣數(ค๊วยคี๊เสี่ยว) เท่ากับ 5 ที่เรียกว่า 刀爻合五(ชอง๊าวหะโหงว) นั่นเอง
 
จะเห็นได้ว่า หากศึกษาจนเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงแก่นแท้แห่งศาสตร์วิชาฮวงจุ้ยชั้นสูงแล้ว ก็จะล่วงรู้ถึงความลับแห่งกระแสพลัง ฟ้า-ดิน-คน จนสามารถตักตวงผลประโยชน์จากชั้นจานเข็มทิศ 罗庚 (หล่อแก) เพื่อช่วยในการปรับลิขิตแห่งฟ้าและเพิ่มเสริมแต่งโชคชะตา เป็นการวางรากฐานแก่ลูกหลานให้ธุรกิจมั่นคงด้วยความมั่นใจ เพราะฮวงจุ้ยออกแบบได้