วิบากทางโค้งพุ่งชน


หน้าที่หลักของเข็มทิศจีนระบบ 三盤 (ซาปั๊ว) นอกเหนือจากใช้สำหรับ 格龍 (แก๊ะเล้ง) 立穴 (หลิบฮวก) และ 定向 (เตี่ยเหี่ยง) ในชั้นจาน 地盤正針 (ตี่ปั๊วเจี่ยจำ) แล้ว
เรายังใช้เข็มทิศจีนชั้นจาน 天盤縫針 (เทียงปั๊วห่งจำ) ในการพิจารณาทำเลชัยภูมิโดยรอบ โดยเฉพาะทิศทางของน้ำตลอดจนกระแสพลังของถนน ที่มีอิทธิพลต่อทำเลชัยภูมินั้นๆเป็นหลักสำคัญ
 
จากกรณีศึกษา ชัยภูมิแห่งหนึ่งตั้งติดริมถนน กำหนดวัดทิศทางจากชั้นจาน 地盤正針 (ตี่ปั๊ว เจี่ยจำ) ได้ตำแหน่ง 壬山丙向 (หยิ่มซัวเปี๊ยเหี่ยง) ส่วนชั้นจาน 天盤縫針 (เทียงปั๊วห่งจำ) มีโค้งพุ่งชนในตำแหน่ง 辰 (ซิ้ง) หากใช้หลักคัมภีร์ 輔星水法 (ฮูแชจุยหวก) คำนวนได้ดาว 祿存(หลกชุ๊ง) ประจำตำแหน่งนี้พอดิบพอดี ซึ่งตรงกับหลักกฏเกณฑ์ที่ว่า 祿存水射堂 (หลกชุ่งจุ้ยเสี่ยตึ๊ง) ส่งผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัวที่อาศัยอยู่ในชัยภูมิแห่งนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะลูกสาวคนโตที่มีอาการเจ็บป่วยทางระบบประสาท ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาของดวงดาว ดังกล่าว
 
ดังนั้นทุกๆหลักกฏเกณฑ์ในหลายหลากคัมภีร์วิชา จำเป็นที่จะต้องนำมาร่วมพิเคราะห์ประกอบพิจารณา เพื่อค้นหาจุดบกพร่องและแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะเสริมมงคลต่อไป ดั่งประโยคที่ว่า 趨吉避凶 (ชูเกียกปี่เฮียง)