เสี่ยงทายคลายความกังวล


การวิเคราะห์เพื่อหาของคำตอบให้ได้ผลลัพภ์ที่ถูกต้องและแม่นยำ นอกเหนือจากการใช้ศาสตร์ ดวงจีน 4 เสาหลัก 8 ตัวอักษร 八字四柱 (โป๊ยหยี่ซี๊เถียว) ที่นิยมและแพร่หลายในปัจจุบันแล้ว ยังมีอีกตำหรับศาสตร์จีนโบราณแขนงหนึ่ง ที่ชนเชื้อสายจีนสืบสายถ่ายทอดเป็นมรดกสืบต่อกันมา จากรุ่นสู่รุ่น ด้วยวิธีการเสี่ยงทายก็คือ ศาสตร์ 易經 (อี้จิง) ศาสตร์แห่งการทำนายด้วยการจับ ยาม เพื่อช่วยในการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ยังมิอาจหาข้อยุติได้ โดยคำนวนจากเวลานาที สากลขณะที่เสี่ยงทายนั้น ตั้ง 起卦 (คีข่วย) ขึ้นมาเป็นขีดเส้นสัญญลักษณ์แสดงแทนความหมาย ดังนี้
  
 
วันศุกร์ที่ 3 เดือนกรกฏาคม พ.ศ.2558 เวลา 14.15 น. มีผู้ขอให้เสี่ยงทายผลของคดีความว่า จะมี ผลลพภ์เป็นเช่นไร โดยสามารถคำนวนตั้งเป็น 起卦 (คีข่วย) ขึ้นมาได้ 艮宮/土 (กึ๊งเกง/โท้ว): 艮為山 (กึ๊งอุ่ยซัว) และ 変卦 (เปี๊ยงข่วย) เป็น 乾宮/金 (เคี่ยงเกง/กิม): 山地剝 (ซัวตี่บั๊ก)
 
อีกทั้งตั้งเป็นดวงจีน 4 เสาหลัก 8 ตัวอักษรได้ดังนี้ เสาปี 未 (บี่) เป็นธาตุดิน เสาเดือน 午 (โง่ว) เป็นธาตุไฟ เสาวัน 辰 (ซิ้ง) เป็นธาตุดิน และเสาเวลา 未 (บี่) เป็นธาตุดิน มี 申 (ซิง) ธาตุทอง 酉 (อิ้ว) ธาตุทอง เป็น 空亡(คงบ้วง) ที่มีความหมายว่า สูญเปล่า
 
寅 (เอี้ยง) ธาตุไม้ คือ 世 (ซี่) เป็นเจ้าชะตาผู้ขอให้เสียงทาย ในที่นี้หมายถึง จำเลย ส่วน 申 (ซิง) ธาตุทอง คือ 應 (เอ่ง) เป็นคู่กรณี ในที่นี้หมายถึง โจทย์ จะเห็นได้ว่า ทั้งฐานเดือนและฐานวัน ไม่ได้ส่งเสริม 世 (ซี่) ที่เป็นตัว 寅 (เอี้ยง) ธาตุไม้ ซึ่งหมายถึงผู้ขอเสี่ยงทายเลย แต่ฐานวันกลับ ไปส่งเสริม 應 (เอ่ง) ตัว 申 (ซิง) ธาตุทองที่เป็น 空亡(คงบ้วง) อีก
 
และหากใช้หลักกฏเกณฑ์ 官訟 (กัวสง) เพื่อพยากรณ์เรื่องคดีความแล้ว ยังสามารถคำนวนหา体卦 (ที่ข่วย) และ 用卦 (เอ่งข่วย) ได้ 艮卦 (กึ๊งข่วย) เหมือนกัน ซึ่งก็เป็นธาตุเดียวกัน และ สนับสนุนต่อกันและกัน
 
ดังนั้นสรุปได้ว่าแม้แต่โจทย์จะมีหลักฐานข้อเท็จจริงมาสนับสนุนก็ตาม แต่ท้ายสุดกลับเกิดความ ไม่แน่ใจยอมประนีประนอมถอนฟ้องยอมความต่อกันได้
 
ถึงแม้นว่าศาสตร์บางศาสตร์จะเป็นตำหรับหลักวิชาที่ตั้งคำนวนด้วยกฏเกณฑ์ที่แตกต่างกัน  แต่หากเป็นศาสตร์วิชาที่ถูกต้องและแท้จริงแล้ว ย่อมให้ผลลัพภ์ของคำตอบที่เหมือนกัน